กลับก่อนหน้านี้
ร้านอาหารไม่ได้ตามสั่ง ภาค2 เสิร์ฟความสุขและเสียงหัวเราะ ณ. กรุงโตเกียว

ข้อมูลจากสำนักข่าวเกียวโด 23กันยายน 2560

 

ลองจินตนาการถึงร้านอาหารร้านหนึ่ง ที่พอลูกค้าจะสั่งแฮมเบอร์เกอร์ก็ได้เสิร์ฟเป็นเกี๊ยวแทน หรือสั่งอาหารอยุ่ดีๆพนักงานก็นั่งลงคุยด้วยเฉย และสุดท้ายจบที่คุณลูกค้าต้องบริการจดออเดอร์ให้ตัวเองซะอย่างนั้น ความสับสนวุ่นวายแบบนี้โดยทั่วไปคงจะทำให้ลูกค้าหงุดหงิดรำคาญไม่ใช่น้อย

 

แต่สำหรับที่นี่ ร้านอาหาร “ไม่ได้ตามสั่ง”  ซึ่งพนักงานเสิร์ฟทุกคนเป็นผู้มีภาวะสมองเสื่อม ความผิดพลาดต่างๆจะได้ถูกเปลี่ยนเป็นกำลังใจ เสียงหัวเราะและรอยยิ้มแทน เจ้าของร้านนั้นไม่ใช่ใครอื่น คือ คุณ ชิโร โอกุนิ เจ้าเก่าผู้ซึ่งได้เปิดร้าน “ไม่ได้ตามสั่ง” ร้านนี้ไปครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน เพื่อสร้างความตระหนักรู้และให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผู้มีภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น สำหรับการเปิดร้านครั้งนี้สองนี้อยู่ระหว่างวันที่16-18 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับช่วงเดือนอัลไซเมอร์โลกพอดิบพอดี

 

 ประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็หมายถึงการเพิ่มขึ้นผู้มีภาวะสมองเสือมอีกด้วย  คุณโอกุนิเอง เปิดเผยกับทีมข่าวว่า แต่เดิมเขาเองก็ไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องภาวะสมองเสื่อมมากนัก จนกระทั่งมีโอกาสเรียนรู้อย่างจริงจังเนื่องจากการทำงาน เขายังเล่าให้ฟังอีกว่าคนญี่ปุ่นทั่วไปที่มักมองว่าสมองเสื่อมเป็นเรื่องน่ากลัว น่าวิตกกังวล และอันตราย แต่สิ่งผลตอบรับจากลูกค้าที่เข้ามาในร้านของเขากลับเป็นความสุข และความรู้สึกดีๆที่เกิดขึ้นจากการเข้ามาใช้บริการ

 

สมองเสื่อม (Dementia) หมายถึง กลุ่มอาการความผิดปกติที่ทำให้สมองนั้นสุญเสียการทำงานด้านต่างๆไป เช่น สูญเสียความทรงจำ หรือ ความสามารถในการคิดตัดสินใจ ปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาให้หายขาดรามทั้งยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดความผิดที่แน่ชัด สำหรับสมองเสื่อมประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดก็คืออัลไซเมอร์

 

เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่นได้มีการลงทุนอย่างมหาศาลเพื่อการนี้ เช่นระบบการจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในผู้ขับขี่สูงอายุ หรือ การติดเครื่องมือต่างๆเพื่อป้องกันการพลัดหลงสูญหายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยข้อมูลจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่าญี่ปุ่นจะมีผู้มีอายุตั้งแต่65ปีขึ้นไปป่วยเป็นสมองเสื่อม เพื่อขึ้นจากจำนวน 4.64 ล้านคนในปีพ.ศ. 2555 เป็น 7ล้านคนในปี พ.ศ. 2568

ในการเปิดร้านรอบนี้ มีพนักงานเสิร์ฟทั้งหมด17ท่านด้วยกัน ทีมข่าวได้สัมภาษณ์ความรู้สึกจาก2 คุณยายสาวเสิร์ฟในช่วงพักให้เราฟัง โดยคุณฮิเดโก มารุยาม่า อายุ82 ปี กล่าวว่า “มันก็สนุกดีนะ” พอทำงานถึงช่วงบ่ายคุณยายก็ลืมไปแล้วว่าจริงๆตนทำงานมาตั้งแต่เช้า (11.00น. ) แล้วก็อยากจะทำงานต่อไปเรื่อยๆ สำหรับอีกท่านหนึ่งคุณโยโก โคโน อายุ78 ปี ก็ยิ้มตอบอย่างเดียวเมื่อถูกถามเกี่ยวกับหน้าที่ของเธอ แต่ทั้งคุ่ก็บอกกับทีมข่าวว่า อยากมาที่ร้านนี้อีกครั้งแต่ขอเป็นลูกค้าบ้าง ปัจจุบันคุณยายทั้งสองท่านอาศัยอยู่ที่บ้านผู้สูงอายุแห่งหนึ่งซึ่งดำเนินงานโดย Daili Angle Help Co.

 

“เพียงพวกเขาได้สัมผัสถึงประสบการณ์บางอย่างกลับไป แค่นี้ผมก็มีความสุขแล้ว” คุณโอกุนิ เจ้าของร้านกล่าวกับทีมข่าว เขายังหวังว่าร้านนี้จะได้มีโอกาสเปิดเป็นประจำทุกปี โดยอาจจะเป็นช่วงวันที่ 21 กันยายน ซึ่งเป็นวันอัลไซเมอร์โลก สำหรับการเปิดร้านอาหาร 3วันนี้ คุณโอกุนิและทีมงานได้เงินทุนมาจากเงินบริจาคจากประชาชนทั่วไปประมาณ 12.9ล้านเยน (ประมาณ 3.8ล้านบาท) มีลูกค้ารวมทั้งหมดประมาณ 300ท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้บริจาคที่ช่วยกันระดมทุนให้กับร้านนั่นเอง แต่อาหารที่เตรียมไว้ในแต่ละวันก็ขายจนหมดเกลี้ยงทุกวัน

 

ย้อนความสักนิดสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านเรื่องราวเมื่อคราวเปิดร้านครั้งแรก ตัวคุณกุนิเอง ได้รับแรงบันดาลใจที่จะเปิดร้านอาหาร “ไม่ได้ตามสั่งนี้” จากการที่ได้เข้าไปศึกษาชีวิตผู้สูงอายุสมองเสื่อมในบ้านผุ้สูงอายุ และได้รับเสิร์ฟเกี๊ยวทั้งที่คุณตาคุณยายที่นั่นคุยกันไว้ว่า วันนี้จะทำแฮมเบอร์เกอร์ทานกัน ซึ่งทำให้เขาได้คิดว่า แทนที่ชี้ว่านี่คิดความผิดพลาด แต่ในโลกของผู้มีภาวะสมองเสื่อม การจำผิดมันก็ไม่เห็นจะเป็นเรื่องอะไรใหญ่โตเลยนี่นา

 

โครงการนี้นอกจากจะได้รับความสนใจจากในประเทศญี่ปุ่นเองแล้ว ประเทศอื่นๆ เช่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย ก็สนใจอยากจะเปิดร้านอาหารแบบนี้เช่นกัน ซึ่งคุณโอกุนิและทีมงานก็ยินดีจะนำประสบการณ์ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน คุณโอกุนิยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในการเปิดร้านอาหารแบบนี้ มันก็ไม่ได้ทำกันง่ายๆหรอกนะ เข้าต้องอาศัยทีมงานจากหลายภาคส่วนมาก ทั้งส่วนของผู้ประกอบการร้านอาหารมืออาชีพ(เป็นผู้ทำอาหาร) นักออกแบบรวมไปถึง นักสังคมสงเคราะห์ผู้ให้การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย เพื่อให้ร้านอาหารมีความสมบูรณ์ไม่ต่างจากร้านอาหารทั่วไป

 

คุณฮิเดยูกิ ฟูจิมิ จากโอซาก้า และเพื่อน คุณ นาโอยะ มูโตะ จากไซตามะ ลูกค้าของร้านให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวว่า เขารู้สึกประทับใจทั้งเรื่องอาหารและบริการของร้าน  พวกเขารู้สึกถึงการต้อนรับที่อบอุ่นเป็นมิตรและอยากให้โครงการนี้มีต่อไปเรื่อยๆ

 

ความเฮฮาหลักของร้านนอกจากจะเป็นเรื่องของการลืมออเดอร์ลูกค้า ทำให้ได้อาหารไม่ใช่ที่สั่งแล้วนั้น ก็ยังมีเรื่องเหนือความขาดหมายที่สร้างเสียงหัวเราะได้เรื่อยๆ เช่น เมื่อพนักงานเสิร์ฟพาลูกค้าไปที่โต๊ะ ก็นั่งซะเองเพราะลืมไปนึกว่าเข้ามาทานอาหารในร้านเอง หรือบางทีคุณยายก็งง เลยขอให้ลูกค้าช่วยจดออเดอร์ให้แทน แต่โดยรวมก็ไม่ได้มีความผิดพลาดร้ายแรงใดๆ ซึ่งในส่วนนี้คุณโอกุนิก็ชี้ให้เห็นว่า ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั้นสามารถทำงาน ทำหน้าที่ที่มอบหมายได้ถ้าหากได้รับความสนับสนุนจากสิงแวดล้อมที่เหมาะสม

 

นอกจากพนักงานเสิร์ฟแล้ว ร้านนี้ยังมีนักดนตรีประจำตั้งแต่การเปิดร้านครั้งแรกคือ คุณ ยาสุโกะ มิกาว่า อายุ62 ปี ผู้ได้รับการวินิจฉัยเป็นอัลไซเมอร์ มาเล่นเปียโนเพลง Ave Maria ของ Johann Sebastian Bach ให้กับลูกค้าในร้านฟังพร้อมกับสามีของเธอซึ่งเล่นเซลโล่ คุณคาสุโอะ มิกาว่า อายุ69ปี สามีของเธอกล่าวว่า เขารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ภรรยาได้รับโอกาสนี้ การมาเล่นดนตรีที่ร้านเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเป็นการเล่นเปียโนครั้งแรกของเธอหลังจากเธอทราบจากคุณหมอว่าเธอเป็นอัลไซเมอร์ และนี้คือการกู้คืนความมั่นใจของเธอกลับมา

 

ไม่ใช้แค่สามีของเธอเท่านั้นที่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในตัวคุณ ยาสุโกะ คุณยูกิโอะ วาดะ จาก Daiki Angle Help(ผู้ประกอบการบ้านคนชรา) หัวหน้าผู้บริหารโครงการ ได้กล่าวเสริมว่า เขาเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนในคุณ ยาสุโกะ ในช่วง3เดือนที่ผ่านมาระหว่างการเปิดร้านครั้งแรกและครั้งที่สองนี้  และคุณยูกิโอะยังเชื่อว่าโครงการร้านอาหารนี้ จะไม่ใช่เพียงเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมเท่านั้น แต่มันจะเป็นโอกาสที่ชี้ให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ “มันไม่ใช่เพียงแต่การสร้างชุมชนที่เป็นมิตรต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมเท่านั้นหรอกนะ มันหมายถึงว่าเราสามารถสร้างสังคมที่ทุกคนมีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอีกด้วย” คุณยูกิโอะกล่าว  

แปลและเรียบเรียงโดย Admeow เอง

ที่มา: https://english.kyodonews.net/news/2017/09/b71dcdeddb59-feature-tokyos-dementia-restaurant-serves-up-unforgettable-experience.html

Admeow
26 ก.ย. 2560
เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง